มาดูความเป็นมาของ เทศกาลวันคเณศจตุรถี เทศกาลนี้มีความสำคัญอย่างไร พร้อมวิธีการบูชา ทำอย่างไรให้พรที่ขอสมหวังดังปรารถนา ปีนี้ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม – 9 กันยายน 2565 เตรียมคาถาบูชา-ของไหว้ ต้องทำอย่างไรที่สายมู huaysod ตัวจริงต้องไม่พลาด
มารู้ความเป็นมา เทศกาลวันคเณศจตุรถี วันที่ 31 สิงหาคม – 9 กันยายน 2565 พร้อมวิธีบูชาพระพิฆเนศให้ชีวิตรุ่งเรืองกัน
เรื่องราวของ เทศกาลวันคเณศจตุรถี หรือวันประสูติของพระพิฆเนศ เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งของชาวฮินดู เชื่อกันว่าช่วงนี้เป็นวันที่พระองค์จะเสด็จมาประทานพรให้มวลมนุษย์ ตรงกับวันที่ 31 ส.ค. – 9 ก.ย. 2565 เป็นเวลา 10 วัน จึงเหมาะสมที่สุดสำหรับการบูชาองค์พระพิฆเนศเพื่อให้ชีวิตรุ่งเรือง
สำหรับพิธีสักการะพระคเณศ ชาวอินเดียถือว่าเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระองค์ จตุรถี แปลว่า ลำดับที่ 4 ซึ่งหมายถึงวันขึ้น 4 ค่ำในเดือนภัทรบท หรือขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งอยู่ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี
จะมีการปั้นเทวรูปพระคเณศขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว หรือวัสดุอื่น ๆ จากนั้นจะสร้างมณฑปขึ้น เพื่อประดิษฐานเทวรูป และเชิญพราหมณ์มาทำพิธี “ปราณประติษฐา” จากนั้นจะทำการบูชา 16 ขั้นตอนตามหลักศาสนาที่เรียกว่า “โษทโศปจาร” เช่น การสรงด้วยนม ด้วยน้ำผึ้ง การบูชาด้วยดอกไม้ และเครื่องบูชาต่างๆ ตามด้วยการสวดมนต์ที่เรียกว่า “คเณศาถรวศีรษะ” หรือ “คเณศอุปนิษัท” ในคัมภีร์พระเวทและทำการบูชาด้วยประทีปหรือการอารตี เป็นขั้นตอนสุดท้าย
พระคเณศจะเริ่มประดิษฐานไว้ ตั้งแต่วันขึ้น 4 ค่ำไปจนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เป็นเวลาทั้งสิ้น 10 วัน ในทุกๆวันจะมีการรวมตัวกันสวดมนต์และทำพิธีอารตีในเวลาค่ำ เมื่อถึงวันที่ 11 ที่เรียกว่า พิธีวิสรชัน คือการส่งเทพเจ้ากลับเทวโลก จะมีการจัดขบวนแห่เทวรูปไปตามท้องถนน พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีและการเต้นรำอย่างสนุกสนาน มีการร้องตะโกนถวายพระพรแด่พระคเณศ
โดยการแห่เทวรูปนั้นจะไปสิ้นสุดที่ทะเล หรือที่แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ๆ และนำเทวรูปนั้นลอยลงไปในทะเลหรือแม่น้ำ เท่ากับว่าได้ส่งพระคเณศกลับยังเทวโลก ซึ่งชาวอินเดียยังเชื่อว่า การที่เทวรูปนั้นสลายสู่สภาวะเดิม เป็นการแสดงสภาวะของธรรมชาติ และถือว่าทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อการเพาะปลูก เพราะแม่น้ำและดินจะได้รับพรจากองค์เทวรูปที่ได้ผ่านพิธีกรรมไปแล้ว
ในประเทศไทยมีหลายสถานที่ ที่จัดพิธีคเณศจตุรถี แต่สำหรับคนที่ไม่สะดวกเข้าร่วมพิธี ก็สามารถบูชาองค์พระพิฆเนศได้ด้วยตัวเอง โดยมีข้อปฏิบัติ คือ
– ทำความสะอาดหิ้งพระ เพื่อรอรับเสด็จของพระองค์
– จัดโต๊ะบูชาเล็ก ๆ แยกจากหิ้งพระ ปูด้วยผ้าสีแดงแล้วอัญเชิญเทวรูปพระพิฆเนศมาประทับไว้
– อาบน้ำชำระกายให้สะอาด
– อัญเชิญเทวรูปองค์พระพิฆเนศจากหิ้งบูชา
– นำเทวรูปของพระพิฆเนศมาสรงน้ำ-เช็ดทำความสะอาด
– จัดเตรียมของไหว้ให้พร้อม ธูป กำยาน กระถางธูป โถกำยาน, เทียน 2 เล่ม, ผลไม้มงคล (แนะนำเป็นกล้วยหรือมะพร้าว),น้ำดื่มสะอาด, นม, ขนมหวาน, เมล็ดข้าวสาร ,เมล็ดถั่วชนิดต่างๆ รวมกันให้ได้ 5 ชนิด จัดใส่จาน
– ให้จัดเตรียมดอกไม้สดสวยๆ เช่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ ดอกบัว
– ถวายทุกอย่างพร้อมกัน แล้วสวดภาวนาด้วยบทมันตรา 9 จบ หรือ 108 จบ จากนันอธิษฐานขอพร
การสวดบทคาถาบูชาพระพิฆเนศ “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” (สวด 9 หรือ 108 จบ) จากนั้นตั้งจิตอธิษฐานขอพร แล้วจบด้วย “โอม ศานติ ศานติ ศานติ”
ในการบูชาควรทำติดต่อกันเป็นเวลา 3, 5, 7, 9, หรือ 11 วัน ตามแต่ความสะดวก โดยในวันสุดท้ายให้นำเทวรูปมาสรงน้ำอีกครั้ง ก่อนอัญเชิญขึ้นหิ้งตามเดิม
ใครที่นับถือและบูชาพระพิฆเนศอยู่ หากสะดวกไปสถานที่จัดที่ไหนก็ไปร่วมบูชากันได้ แต่หากใครไม่สะดวกก็สามารถทำพิธีนี้ที่บ้านของท่านก็ได้ ในช่วงวันที่ 31 สิงหาคม – 9 กันยายน 2565 สายมูรู้เป็นมาของเทศกาลนี้แล้ว ห้ามพลาดกับการส่งพระพิฆเนศกลับสู่สรวงสวรรค์กัน เชื่อว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อสายมูได้หลายคน ฝากติดตาม เว็บแทงหวย และบทความต่อๆ ไป สำหรับวันนี้ “สวัสดี”
อ่านบทความอื่นๆ ของเว็บหวย 2019